องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยินดีต้อนรับ

                                     ใครยากเก่งวิชาเทคโนโลยีสาระสนเทศ เข้ามาได้เลย "รุย"




ครั้งที่ 1

1. จงอิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยี คือการนำความรู้ด้านต่าง ๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทะธิภาพเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การนำ หุ่นยนต์มาใช่ในการผลิตสินค้า
สารสนเทศ คือ ข้อมุลที่ผ่านกระบวนการเก็บรววบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผุ้ใช้ เช่น ในการบันทึกรหัสค้าพร้อม Location เพื่อหาตำแหน่งสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือการเก็บรวบรควมข้อมูลการประมวลผลการแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสือสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกินประโยชน์ได้ เช่น ในระบบ Store โรงงานจะSpare part รวมไว้หลายเหมือน Item และเราก็นำข้อมูลมารวบรวมไว้ในระบบ และสารมารค้นหาได้ง่ายพร้อมระบุ ตำแหน่ง Location
ข้อมูล คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฎการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เป็นข้อมูลพนักงานในบริษัท ทุกคน เพื่อนำมาคำนวนเรื่องเงินเดือน หรือโบนัส ต่าง ๆ ให้พับ พนักงาน
ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ใน ระบบ Store ที่ทำงานผม จะรวบรวม Spare part ไว้หลากหลาย โดยมีวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ในการหา Spare pare ที่จำเป็นต่อการใช่งานมาเก็บไว้ ใน Store

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ
2. ระดับที่สอง เป็นการใช่คอมพิวเตอร์จำทำสารสนเทศเพื่อให้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
3. ระดับที่สาม เป้นการใช่คอมพิวเตอร์จำทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดระดับกลางใช้ในการจัดกระและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดืนอ ถึง 1 ปี ซึ่งเรียนกว่า งานความคุถมการจัดการ
4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดังสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียวว่าการวางแผนกลยุทธ์ ตัวอย่างเช่น มีการประมวลผลแบบรายการ งานควบคุมการจัดการ งานความคุมการตัดสินใจ การวางแผนกลยูทธ์

3. วิวัฒนาการของเทศโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง 1.ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุกแรก ๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวนและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่าและบุคลากรลง
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห็งานของผู้บริหาร
3. ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4. ยุคเทศโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทศโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทศโนโลยีโทรคมนาคม เป้นเครื่องมีอช่วยในการจัดทำระบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ

ครั้งที่ 2

อธิบายความหมาย  พร้อมยกตัวอย่าง
Hardware  หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สาคัญ คือ
1 อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่ กล้อง เมาส์ แป้นพิมพ์ เป็นต้น
2 อุปกรณ์ของหน่อยแสดงผล ได้แก่ CD เมมโมรี่ ฮาร์ดดิสก์
3 อุปกรณ์แสดงผล ได้แก่ เครื่องพิมพ์ สำโพง จอภาพ เป็นต้น

Software หมายถถึงเป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคาสั่ง เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทางานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทาให้เครื่องเข้าใจและทางานได้โดยตรง ประกอบไปด้วย
      1 ซอฟแวร์ระบบ ได้แก่ ยูติลิตี้  ดีไวท์ไดร์ฟเวอร์ ตัวแปลภาษา
      2 ซอฟแวร์ประยุกต์ ได้แก่ ซอฟต์แวร์สาหรับงานเฉพาะด้าน ซอฟต์แวร์สาหรับงานทั่วไป
Peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทางานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
          1.ผู้จัดการระบบ (System Manager)
          2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
          3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
          4. ผู้ใช้ (User)
Data คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดาเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที

Information  คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนาเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย

2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware ,Software และ Peopleware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย

   โรงแรม ส่วนประกอบของโรงแรม

Hardware จะนำคอมพิมพ์พิวเตอร์มาใช่ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จะทำมาเพื่อ เป็นอุปกรณ์เครื่องใช่สำนักงาน ในการบริหารงาน ส่วนที่ 2 นำมาให้บริการสำหรับลูกค้าที่เข้ามาใช่บริการ(มีการต่ออินเตอร์เน็ตทุกส่วน) จะจัดเป็นโซนสำหรับลูกค้า บริเวณค้างเค้าเตอร์ แถว ๆ ทางเข้าโรงแรม มีการติดกล้องวงจรปิด  บริเวณส่วนสำคัญรวมทั้งรอบ ๆ โรงแรม ในส่วนเค้าเตอร์ ยังมีเครื่องปริ้นเพื่อที่จะปริ้นใบเสร็จให้กับลูกค้า

Software ส่วนของทางบัญชี จะทำเป็นโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่นำมาบริหารงานบัญชี ส่วนของบุคคล จะเป็นโปรแกรมคำนวณค่าแรง โดยจะกพักนักงานแสกนบัตร แล้วข้อมูลสามารถดึงไปคำนวนค่าแรงได้เลย ส่วนเค้าเตอร์ให้บริการลูกค้า จะนำมาใช่ในรูปแบบการทำใบเสร็จให้ลูกค้า การเช็นห้องให้สำหรับลูกค้า

peoppeware

1.ผู้จัดการบะบบ (System Mamager)  ใส่สำหรับวางแผนโครงสร้างวิธีการจัดการระบบทั้งหมด

 2. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เป็นบุคคลที่ทำโปรแกรมขึ้นมาพร้อมปรับปรุงระบบ

3. ผู้ใช้ (User) เป็นบุคลากรที่ใช่ในแต่ละส่วน




ใบงานที่ 3

1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

  ตอบ แบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ 1. ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี1.1 การลงรหัส1.2 การตรวจสอบ1.3 การจาแนก1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
          2. ขั้นตอนการประมวลผล
คือ เป็นการนาเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น 2.1 การคานวณ 2.2 การเรียงลาดับข้อมูล 2.3 การสรุป 2.4 การเปรียบเทียบ
         3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนาเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2.จงเรียงลาดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

     บิต(Bit)  เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
     ไบต์ (Byte) เป็นการนำบิตมารวมกัน
     ฟิลด์(Field) การนำไบต์หลาย ๆ มารวมกัน
     เรตอร์ต (Record) การนำฟิลต์หลาย ๆ ฟิลต์มารวมกัน
     ไฟล์(File) การเรคอร์ตหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน จะเรียกว่า แฟ้มข้อมูล
     ฐานข้อมูล (Database) การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวามกัน โดยจะเรียกว่าฐานข้อมูล

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

   สถานที่ทำงาน SCG-DOW   ตำแหน่ง
         ข้อมูลการเบิก Spare Part
         ข้อมูล Store Code Spare Part
         ข้อมูล Location ของ Spare Part
         ข้อมูล การเบิกเครื่องมือ Tool
         ข้อมูล รายการเครื่องมือ Tool
         ข้อมูล เอกสาร PO#
   ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล
     - สามารถค้นหาเอกสารใบเบิกได้รวดเร็ว และรู้ว่าใครเป็นผู้เบิก Spare Part และยังรู้ว่านำไปใช่งานที่ Tag ตัวใหน และ รู้เลขที่  Work Orders
     - สามารถค้นหา Spare Part ได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นหาตามP/N ได้  เพื่อที่จะนำ Store code นั้น ไปเบิก Spare P
     -  นำ Store Code นั้น ไปหา Location ได้ เผื่อทำการตรวจสอบว่าตรงกับของเดิมที่ เสียหายหรือเปล่า
     -  สามารถค้นหา สถานะ ได้ว่า เครื่องมือ Tool นั้น ว่าใครเป็นคนเบิก หรือชำรุต หรือพร้อมใช่งาน
     -  ตรวจสอบได้ว่า เครื่องมือ Tool นั้น ๆ มีอยู่ใน Store หรือไม่
     -  นำมาเปลียบเทียบกัน Spare Part ว่าตรงกับข้อมูลที่สั่งซื้อหรือไม่ และตรวสอบ PO# ได้ว่าเป็น Spare Part ของ Plan ใหน

4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

การประมวลผลแบบแบทซ์ ( Batch Processing )
เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล วิธีนี้จะไม่มีการโต้ตอบกัน (Interactive) ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออฟไลน์ (off-line) เช่น ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 3 เดือน หมายถึง หากยังไม่ถึงกำหนด 3 เดือน จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้
การประมวลผลแบบทันที (real-time processing)
การประมวลผลแบบทันทีเป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับข้อมูล เช่น การฝากถอนเงินในธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงินข้อมูลการฝากเงินที่เกิดขึ้นจะถูกประมวลผลทันที ส่งผลให้ยอดเงินฝากในบัญชีนั้นเปลี่ยนแปลงทันที การฝากถอนเงินเป็นงานที่สะสมข้อมูลไว้ทำพร้อมกันในครางเดียวไม่ได้ จึงต้องประมวลผลทันที ถึงแม้จะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการประมวลผลแบบกลุ่มก็ตาม


งานครั้งที่ 4


1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
    สื่อกลางประเภทมีสาย  เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)
- สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)

UTP & STP
ข้อดี   1. ราคาถูก  2. น้ำหนักเบา  3. ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย  1. ความเร็วจำกัด  2. ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางใกล้ๆ
                                
- สายโคแอคเชียล (Coaxial)
Coaxial Cable
ข้อดี  1. เชื่อมต่อได้ในระยะไกล  2. ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี

ข้อเสีย  1. ราคาแพง  2. สายมีขนาดใหญ่  3. ติดตั้งยาก
                        - ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
Optic Fiber Cable
ข้อดี  1. ขนาดเล็กน้ำหนักเบา 2. ความปลอดภัยในการส่งข้อมูล 3. ความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย  1. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย  2. ราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป  3. การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ


2. การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร

ข้อดีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

1.        การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

2.        การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

3.        สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) เป็นต้น

4.        ความประหยัดนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน

5.        ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที                                                                                                                               

3. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร

รูปแบบการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ( Wireless LAN)
สะดวกต่อการใช่งาน และส่วนมาก จะใช่กันหากมีการประชุมก็สามารถนำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กมาใช่งานได้เลยโดยไม่ต้องเดินสายให้ยุ่งยาก หรือในส่วนที่ผมทำงานอยู่ ยังถือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กไปหน้างานได้ด้วย

4. อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร

           - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น


5. จริยธรรมสารสนเทศและสิทธิทางปัญญา

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

2. อธิบายความหมายของ
Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก จนถึงระดับที่สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง เช่น มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครือข่าย หรือองค์กร แล้วทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ

Cracker มีความหมายอย่างเดียวกันกับ Hacker แต่ต่างกันตรงที่วัตถุประสงค์ในการกระทำ จุดมุ่งหมายของ Cracker คือ บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัว แต่โดยทั่วไปแล้วมักเข้าใจกันว่าเป็นพวกเดียวกันนั่นเอง คือมองว่ามีเจตนาไม่ดีทั้งคู่ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ

Spam (สแปม) คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )

โทรจัน (Trojan) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้แฝงเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อื่นในหลากหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรม หรือ การ์ดอวยพร เป็นต้น เพื่อดักจับ ติดตาม หรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกคุกคาม

ม้าโทรจัน บางคนอาจมีทัศนคติที่ไม่ดีนัก คิดว่ามันคืออันตราย แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของ “ม้าโทรจัน” นั้นคือ โปรแกรมสำหรับใช้ทำหน้าที่ควบคุม คอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในระยะห่างไกลออกไป เพื่อที่จะทำการช่วยเหลือ หรือทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในเครื่องที่อยู่ห่างไกลโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขด้วยตนเอง แต่ในปัจจุบันที่เราพบในทุกวันนี้จะเป็นการใช้เพื่อแกล้ง หรือ รบกวนผู้อื่นมากกว่า เช่น เคยไหมที่เครื่องเรา shutdown , Restart หรือ CD-Rom เปิด-ปิดได้เองโดยที่เราไม่ได้ทำอะไรกับมันเลย และปัญหาจุกจิกอีกมากมาย ขณะเล่นอินเทอร์เน็ต แต่ปัญหาที่พบ ที่รุนแรงที่สุดคือการลักลอบเข้าไปขโมย Account และ password สำหรับการเข้าเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการใช้โปรแกรม “ม้าโทรจัน” ในทางที่ผิด

สปายแวร์ ก็คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5 ตัวอย่าง
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบในการที่น่าจะเกิดความเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลนั้น มิได้มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ เพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือ บางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น